พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2348 ที่ เมืองโกต-ดอร์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อท่านอายุได้ 23 ปี ท่านก็ได้ตัดสินใจบวชเป็นบาทหลวง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2371 ที่เซมินารีของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส จากนั้นท่านก็ได้รับหน้าที่ให้ไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ณ ประเทศไทย และท่านได้ออกเดินทางเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2371 ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2372 ในปี พ.ศ. 2381 ท่านได้รับตำแหน่งอธิการโบสถ์คอนเซ็ปชัญ ท่านได้ปรับปรุงโบสถ์แห่งนี้ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2217 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วจากถูกทิ้งร้างมานานแล้วย้ายไปอยู่ที่โบสถ์อัสสัมชัญในปี พ.ศ. 2381
จนปี พ.ศ. 2378 มุขนายก ฌ็อง-ปอล-อีแลร์-มีแชล กูร์เวอซี (Jean-Paul-Hilaire-Michel Courvezy) ประมุขมิสซังสยามในขณะนั้นได้แต่งตั้งท่านเป็นอุปมุขนายก (vicar general) แล้วให้ดูแลดินแดนสยามในช่วงที่ท่านไปดูแลมิสซังที่สิงคโปร์ เมื่อกลับมาก็ได้รับอนุญาตจากสันตะสำนักให้อภิเษกท่านปาเลอกัวเป็นมุขนายกรองประจำมิสซังสยาม (Coadjutor Vicar Apostolic of Siam) ในปี พ.ศ. 2381 พร้อมทั้งดำรงตำแหน่งมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอส เมื่อมีการแบ่งมิสซังสยามออกเป็นสองมิสซัง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออกเป็นท่านแรก ในวันที่ 10 ก.ย. พ.ศ. 2384
สังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2397 ช่วงต้นรัชกาลที่ 4 หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยนานหลายปี และเป็นผู้นำพระราชสาส์นจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปถวาย สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 ขณะพำนักอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ได้ตีพิมพ์หนังสือขึ้น 3 เล่ม คือ
- เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou Siam)
- สัพะ พะจะนะ พาสา ไท (พจนานุกรมสี่ภาษา)
- Grammatica linguoe Thai (ไวยากรณ์ภาษาไทย)
พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2388โดยได้สั่งบาทหลวงอัลบรันด์ซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศสฝากมากับบาทหลวงลาร์นอดี (L' abbe Larnaudie) เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2388
พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ใช้ชีวิตอยู่ที่ฝรั่งเศสนาน 3 ปี จึงเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2399 และถึงแก่มรณภาพที่โบสถ์อัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2405 อายุ 57 ปี ศพฝังอยู่ในโบสถ์คอนเซ็ปชัญ ได้มีขบวนแห่จากหน้าโบสถ์อัสสัมชัญไปยังหน้าโบสถ์คอนเซ็ปชั่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระประสงค์ให้พิธีศพเป็นไปอย่างสงงามที่สุด จึงพระราชทานเรือหลวงสองลำเพื่อนำขบวนโดยบรรทุกหีบศพ ขบวนแห่นั้นประกอบไปด้วยเรือดนตรี (ดนตรีไทยจากค่ายคริสตัง) เรือของคริสตัง ข้าราชการไทย และทูตต่างประเทศ
ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย
บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ หรือฌอง แบบตีสต์ ปาลเลอกัวซ์ (พ.ศ. 2348 - 2405) ชาวฝรั่งเศส เป็นบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่เมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2373 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มแรกท่านพำนักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ ต่อมาได้ย้ายไปตามเมืองต่าง ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2381 ได้เป็นสังฆราช ณ วัดคอนเซ็ปชัญบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจนมีความรู้ดี รวมทั้งมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างสรรค์ผลงานวิชาความรู้ที่มีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาและประวัติศาสตร์ไทย
ผลงานสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านอักษรศาสตร์ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ศึกษาภาษาไทยและบาลีจนมีความรู้แตกฉาน และได้ทำพจนานุกรมภาษาไทยขึ้น โดยมีวชิรญาณเถระ ได้ทรงช่วยจัดทำด้วย และบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ถวายการสอนภาษาละตินให้พระองค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความรู้และความคิดของชาวตะวันตก
นอกจากนี้ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้เขียนพจนานุกรมสี่ภาษา คือ ภาษาไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ หรือสัพพะ พะจะนะ พาสาไท พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2397 เขียนหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส และแต่งหนังสือเรื่อง "เล่าเรื่องเมืองสยาม" ทำให้ชาวยุโรปรู้จักเมืองไทยดียิ่งขึ้น
2. ด้านวิทยาการตะวันตก บาทหลวงปาลเลอกัวซ์มีความรู้ในด้านภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี และมีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาการถ่ายรูป รวมทั้งเป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2388 โดยสั่งซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศส และมีฝีมือในการชุบโลหะ ซึ่งบุตรหลานข้าราชการบางคนได้เรียนรู้วิชาเหล่านี้จากท่าน นอกจากนี้ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างโรงพิมพ์ภายในวัดคอนเซ็ปชัญและจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์
3. ด้านศาสนา บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่คริสตศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย เช่น สร้างสำนักพระสังฆราชเพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่วัดอัสสัมชัญบางรัก และได้ย้ายจากวัดคอนเซ็ปชัญไปอยู่ที่วัดอัสสัมชัญจนกระทั่งมรณภาพ
ผลงานสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านอักษรศาสตร์ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ศึกษาภาษาไทยและบาลีจนมีความรู้แตกฉาน และได้ทำพจนานุกรมภาษาไทยขึ้น โดยมีวชิรญาณเถระ ได้ทรงช่วยจัดทำด้วย และบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ถวายการสอนภาษาละตินให้พระองค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความรู้และความคิดของชาวตะวันตก
นอกจากนี้ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้เขียนพจนานุกรมสี่ภาษา คือ ภาษาไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ หรือสัพพะ พะจะนะ พาสาไท พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2397 เขียนหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส และแต่งหนังสือเรื่อง "เล่าเรื่องเมืองสยาม" ทำให้ชาวยุโรปรู้จักเมืองไทยดียิ่งขึ้น
2. ด้านวิทยาการตะวันตก บาทหลวงปาลเลอกัวซ์มีความรู้ในด้านภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี และมีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาการถ่ายรูป รวมทั้งเป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2388 โดยสั่งซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศส และมีฝีมือในการชุบโลหะ ซึ่งบุตรหลานข้าราชการบางคนได้เรียนรู้วิชาเหล่านี้จากท่าน นอกจากนี้ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างโรงพิมพ์ภายในวัดคอนเซ็ปชัญและจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์
If you're looking to lose kilograms then you absolutely need to start following this totally brand new personalized keto diet.
ตอบลบTo create this keto diet, licenced nutritionists, personal trainers, and professional cooks united to develop keto meal plans that are powerful, suitable, cost-efficient, and enjoyable.
Since their first launch in January 2019, hundreds of individuals have already transformed their body and health with the benefits a professional keto diet can provide.
Speaking of benefits: clicking this link, you'll discover 8 scientifically-proven ones offered by the keto diet.