สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2405
- 2486) มีพระนามเดิมว่า
"พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร"
ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาชุ่ม
ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และทรงส่งเสริมการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และการศึกษาของชาติ
พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่
1.1) ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก ระหว่าง
พ.ศ. 2435 - 2458 และมีบทบาทสำคัญในการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลจนประสบความสำเร็จ
ทรงตั้งมณฑล 18 มณฑล จังหวัด 71
จังหวัด และเสด็จออกตรวจราชการหัวเมืองสม่ำเสมอ
1.2) ทรงฝึกหัดการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน
เพื่อปูพื้นฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย
2. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่
2.1) ทรงค้นคว้าในทางพงศาวดารและโบราณคดี
ทรงมีงานประพันธ์ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก เช่น ไทยรบพม่า
พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5
ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ จนได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
2.2) ทรงว่าการหอพระสมุดสำหรับพระนครและริเริ่มการตั้งพิพิธภัณฑ์เมื่อ
พ.ศ. 2470 ทรงประกาศรับซื้อหนังสือเก่าและรวบรวมของเก่า
ๆ เพื่อเก็บไว้เป็นสมบัติของชาติ ทรงทำโรงเก็บราชรถ
2.3) ทรงริเริ่มในการพิมพ์หนังสือสำหรับแจกเป็นวิทยาทานในงานต่าง
ๆ เช่น งานพระศพหรืองานวันประสูติ และขอแบ่งหนังสือส่วนหนึ่งเก็บไว้ในห้องสมุด
ทำให้หนังสือความรู้ทั้งเก่าและใหม่ได้รับการพิมพ์แพร่หลายมากขึ้น
รวมทั้งได้รักการเก็บรักษาไว้ในห้องสมุด
2.4) ทรงส่งเสริมการค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับไทยที่มีอยู่ในที่ต่าง
ๆ
2.5) ใน พ.ศ. 2475
ทรงทดลองจัดตั้งสมาคมวรรณคดีและราชบัณฑิตยสภา แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. 2475
ได้ทรงถูกถอดออกจากการเป็นสภานายกหอพระสมุดและราชบัณฑิตยสภา
2.6) ทรงริเริ่มจัดตั้งหอจดหมายเหตุ หอรูป
โดยทรงแยกจัดไว้เป็นแผนก ๆ คือ รูปคน รูปสถานที่ รูปเหตุการณ์
และนำมาไว้แห่งเดียวกัน ทำให้มีรูปเก่าตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น