ประวัติเจ้าพระยาวิชาเยนทร์
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (ฟอลคอน)
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เดิมชื่อ คอนสแตนติน เยรากี เป็นชาวกรีกเป็นลูกเรือรับจ้างของอังกฤษที่เดินทางมาค้าขายทางด้านตะวันออก ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น คอนสแตนติน ฟอลคอน ได้มากับเรือสินค้าอังกฤษถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2218 ต่อมาได้ลาออกจากบริษัทค้าขายของอังกฤษ และสมัครเข้ารับราชการอยู่กับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) ในกรมพระคลังสินค้า เนื่องจากเป็นผู้ที่เคยทำงานอยู่กับอังกฤษและรู้การค้าขายกับชาวต่างชาติเป็นอย่างดี จึงมีความชอบและเป็นที่ไว้วางใจในด้านการค้ากับชาวต่างประเทศ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) จึงกราบทูลสมเด็จพระนารายณ์ ทรงโปรดให้เป็น หลวงวิชาเยนทร์และมีบรรดาศักดิ์ต่อมาจนได้เป็นสมเด็จพระนารายณ์ ทรงโปรดให้เป็น หลวงวิชาเยนทร์และมีบรรดาศักดิ์ต่อมาจนได้เป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศและการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ทำให้มีการส่งคณะราชทูตเดินทางไปยังฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ
การค้าขายของกรุงศรีอยุธยานั้น เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ได้คิดอ่านที่จะสร้างเรือกำปั่นหลวงเพิ่มเติมขึ้น จึงชักชวนให้พวกอังกฤษออกจากบริษัทมารับเดินเรือกำปั่นหลวง โดยมีข้อตกลงว่ายอมให้มีการนำสินค้าของตนไปกับเรือหลวงได้ จากนั้นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้ทูลขอให้สมเด็จพระนารายณ์ ทรงตั้งเมืองมะริดซึ่งเป็นเมืองท่าของกรุงศรีอยุยาอยู่นั้นเป็นสถานีค้าขายของหลวงและทำการสร้างป้อมประจำท่า เช่นเดียวกับสถานีค้าขายของประเทศตะวันตกที่ตั้งขึ้นในแถบนั้น
การที่กรุงศรีอยุธยาได้จัดการค้าขายดังกล่าวนั้น ทำให้บริษัทอังกฤษที่มีอำนาจทางการค้าอยู่ทางด้านตะวันตกไม่พอใจ โดยเฉพาะมีการดึงคนอังกฤษออกไปจากบริษัท และอังกฤษเองก็ต้องการที่จะมีอำนาจในเมืองมะริดไว้เป็นเมืองท่าของตน บริษัทของอังกฤษนั้นจึงแจ้งเรื่องไปยังอังกฤษกล่าวโทษเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ว่าเป็นพวกฝรั่งเศส และคิดอ่านเกลี้ยกล่อมคนอังกฤษไปตั้งช่องเพื่อประโยชน์ของตนเอง หาใช่ความคิดของอาณาจักรสยามทำให้อังกฤษนั้นขัดเคืองจึงเรียกคนอังกฤษที่มาทำงานให้กันอาณาจักรสยามกลับหมด แล้วบริษัทอังกฤษจึงถือโอกาสนั้นแต่งเรือรบออกจับเรือสินค้าของอาณาจักรสยามที่เดินทางไปค้าขายทางอินเดีย แล้วยื่นคำขาดให้ พระยาตะนาวศรีมีหนังสือมากราบทูลสมเด็จพระนารายณ์ กล่าวโทษว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้นได้ทำการกลั่นแหล้งให้บริษัทต่างๆ ได้รับความเสียหายไปถึง 40,000 ปอนด์ เพื่อให้มีการชดใช้ทรัพย์สินภายในกำหนด 2 เดือน ยังไม่ทันที่กรุงศรีอยุธยาจะทำการโต้ตอบอย่างใด อังกฤษได้ส่งเรือรบมายังเมืองมะริด แล้วให้ทหารขึ้นบกเข้ายึดเมืองมะริด ทำการรื้อป้อมและแย่งเอาเรือกำปั่นหลวงของไทยไปได้ 1 ลำ ฝ่ายพระยาตะนาวศรีนั้นเมื่อเห็นว่าอังกฤษได้กระทำการก่อสงครามขึ้นเช่นนั้น จึงยกกองทัพเข้าปล้นเมืองมะริดในเวลากลางคืน ทำการชิงเมืองฆ่าพวกอังกฤษตายเป็นอันมาก ที่รอดตายก็หนีลงเรือไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนั้น เมื่อกรุงศรีอยุธยาทราบเรื่อง สมเด็จพระนารายณ์จึงได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2230 ทำให้อาณาจักรสยามกับอังกฤษนั้นเป็นข้าศึกต่อกันมาตลอดรัชกาล
ครั้นเมื่อ ออกพระยาวิสูตรสุนทร (ปาน ต่อมาเป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดี) ได้นำคณะราชทูตกลับมาจากฝรั่งเศส เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2230 นั้น พรเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้จัดคณะราชทูตฝรั่งเศสเดินทางตามมาส่งถึงกรุงศรีอยุธยาด้วยพร้อมกับได้จัดทหารฝรั่งเศสติดตามมาด้วย 1,400 คนเข้ามารับราชการอยู่กับสมเด็จพระนารายณ์ด้วย
สมเด็จพระนารายณ์ ได้ส่งให้ทหารฝรั่งเศสนี้ไปรักษาป้อมที่เมืองมะริด 2 กองร้อย และทหารที่เหลือนั้นให้ไปอยู่ประจำที่เมืองธนบุรีศรีสมุทร โดยให้ทำการจัดสร้างป้อมใหญ่ขึ้นทางฝั่งตะวันออก (บริเวณโรงเรียนราชินี) ขึ้นอีกป้อมหนึ่ง เพื่อกันไม่ให้ทหารฝรั่งเศสอยู่ในกรุงศรีอยุธยา
เมืองมะริดนั้นเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ส่งทหารฝรั่งเศสไปอยู่ประจำเช่นนั้นแล้ว บริษัทอังกฤษจึงไม่กล้ายกกำลังเข้ามาบุกรุกอีก ด้วยเหตุที่อาณาจักรสยามมีความคัดแย้งกับอังกฤษดังกล่าว สมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีพระราชไมตรีกับฝรั่งเศสอย่างแน่นแฟ้นและสร้างเมืองลพบุรีให้เป็นเมืองราชธานีสำรองของอาณาจักรสยามไว้ ซึ่งทรงโปรดให้คณะราชทูตฝรั่งเศสและเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ อยู่ประจำที่เมืองลพบุรีเช่นเดียวกับพระองค์ คณะราชทูตฝรั่งเศสพำนักอยู่ในอาณาจักรสยามได้ 3 เดือนก็เดินทางกลับฝรั่งเศส ส่วนพระวิสูตรสุนทร (ปาน) นั้น ได้แต่งตั้งให้เป็นพระยาโกษาธิบดี ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์ ได้ทรงแต่ง คณะราชทูตส่งไปพร้อมกับคณะราชทูตของฝรั่งเศสอีกครั้งนี้คณะราชทูตได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และเฝ้าสันตะปาปาหรือโป๊ปที่กรุงโรมด้วยพร้อมกับได้จัดส่งเด็กไทยหลายคนไปเล่าเรียนวิชาที่เมืองฝรั่งเศสด้วย
คณะราชทูตฝรั่งเศสได้เดินทางกลับไปแล้วได้ 5 เดือน สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวรหนักและเหตุเหตุการณ์จลาจลภายในขึ้น เนื่องนาก สมเด็จพระนารายณ์นั้น ไม่มีพระราชโอรสที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัชทายาท พระองค์ทรงมีแต่พระธิดาที่ทรงแต่งตั้งเป็น กรมหลวงโยธาเทพกับพระน้องเธอ 3 อง5 ได้แก่ เจ้าฟ้าหญิงที่ทรงตั้งเป็น กรมหลวงโยธาทิพ, เจ้าฟ้าอภัยทศ และเจ้าฟ้าองค์น้อย ไม่ปรากฏพระนาม นอกจากนี้พระองค์ยังทรงชุบเลี้ยงเจ้าราชินิกูลองค์หนึ่งที่ทรงเมตตาเหมือนพระราชบุตร คือ พระปีย์ (หรือพระปิยะ)
ดังนั้นผู้ที่จะรับเวนราชสมบัตินั้น เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เห็นว่า สมเด็จพระนารายณ์จะมอบราชสมบัติให้ พระปีย์ จึงเข้าเกลี้ยกล่อให้พระปีย์ เข้าเป็นพรรคพวกฝรั่งเศส มีความสัยว่าพระปีย์นั้นเข้ารีตเป็นคริสตังแล้วด้วย ส่วนฝ่ายข้าราชการที่พากันระแวงการกระทำของพระยาวิชาเยนทร์จะคิดร้ายต่อบ้านเมือง จึงพากันไปเข้ากับพระเพทราชา ซึ่งมีความเกลียดชังฝรั่งเศสอยู่ก่อนแล้ว
สมเด็จพระนารายณ์นั้นทรงประชวรอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เมืองลพบุรี พระเพทราชา กับ หลวงสรศักดิ์ เห็นว่า พระเจ้าเหนือหัวทรงมีพระอาการหนัก ไม่ทรงหายประชวรแน่แล้ว จึงสั่งให้ตั้งกองทหารล้อมรักษาพระราชวังอย่างกวดขัน แล้วทำการล่อเอาตัวพระปีย์ ไปประหารชีวิตเสียแล้วทำการจับเอาตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์มาไต่สวนกล่าวโทษว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้นเป็นกบฏจะชิงราชสมบัติให้พระปีย์ ด้วยประสงค์จะเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเสียเอง เมื่อสอบสวนแล้วก็ให้เอาตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ไปประหารชีวิตเสียที่ทะเลชุบ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น